เมื่อวันที่ 20 ก.พ.รัฐบาลออสเตรเลียออกแถลงการณ์ว่า จะจัดสรรงบประมาณมากกว่า 35,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (เกือบ 1.26 ล้านล้านบาท)ให้กับกระทรวงกลาโหมในช่วงอีก 10 ปีข้างหน้า โดยงบประมาณดังกล่าวจะถูกนำไปใช้ในแผนการสร้างกองทัพเรือที่ใหญ่ที่สุดของออสเตรเลียนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2
ทั้งนี้แผนดังกล่าว จะทำให้ออสเตรเลียเพิ่มกองเรือรบหลัก ๆ ของตัวเองเป็น 26 ลำ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพแลดล้อมทางยุทธศาสตร์ที่ออสเตรเลียกำลังเผชิญอยู่
ยูเครนขยายแนวตั้งรับภูมิภาคตะวันออก สกัดรัสเซียบุก คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
"ฮูตี" ไม่หยุด โจมตีโดรนและเรือสินค้าครั้งใหม่
ซารังเฮ! “ปูติน” ส่งรถลีมูซีนเป็นของขวัญให้ “คิม จองอึน”
พลเรือโท มาร์ก แฮมมอนด์ เสนาธิการกองทัพเรือออสเตรเลีย กล่าวในแถลงการณ์ว่า การเสริมสร้างความเข้มแข็งของออสเตรเลียต้องอาศัยกองทัพเรือที่แข็งแกร่ง และกองทัพเรือเหล่านี้ก็จะทำหน้าที่ดำเนินการทางการทูตในภูมิภาคอินโดแปซิฟิกเพื่อขัดขวางผู้ที่อาจเป็นปรปักษ์ และปกป้องผลประโยชน์ของชาติ ส่วนขนาด และขีดความสามารถของกองเรือรบในอนาคตก็จะทำให้ออสเตรเลียมั่นใจได้ว่า กองทัพเรือของออสเตรเลียมีความพร้อมในการตอบสนองต่อความท้าทายเชิงยุทธศาสตร์ในภูมิภาคด้วย
ทั้งนี้ แผนการเสริมกองทัพเรือประกอบด้วย เรือพิฆาตและเรือฟริเกต 20 ลำ และเรือผิวน้ำแบบมีลูกเรือขนาดใหญ่ (LOSV) จำนวน 6 ลำ ที่สามารถปฏิบัติการโดยมีผู้ควบคุมอยู่บนเรือ หรือควบคุมจากที่อื่นได้
โดยกองทัพเรือเหล่านี้จะเข้าร่วมกับกองเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ที่ออสเตรเลียวางแผนจะสร้างภายใต้ข้อตกลง AUKUS กับสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร
ด้าน คอลลิน โคห์ นักวิจัยจาก S. Rajaratnam School of International Studies ในสิงคโปร์ ชี้ว่า การเพิ่มขนาดกองทัพเรือของออสเตรเลียถือเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าออสเตรเลียต้องการเพิ่มขีดความสามารถของตัวเองให้ตรงกับข้อกำหนดที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ภูมิภาคอินโดแปซิฟิก และแม้ว่าในแถลงการณ์ของแผนดังกล่าวจะไม่ได้มีการเอ่ยถึงประเทศจีน แต่คณะกรรมการพิจารณาชี้ว่า ในอนาคตต้องมีกองทัพเรือรบที่มีความสามารถเพื่อสนับสนุนกิจกรรมสำคัญ รวมถึงการลาดตระเวนแนวทางทางตอนเหนือ และปฏิบัติภารกิจการคุ้มกันอย่างใกล้ชิด
ขณะที่ เจนนิเฟอร์ ปาร์กเกอร์ผู้ช่วยนักวิจัยด้านกองทัพเรือที่ UNSW แคนเบอร์รา ชี้ว่าการประกาศแผนดังกล่าวของออสเตรเลียถือเป็นการชี้ให้เห็นถึงภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นจากจีน และส่งสัญญาณว่า ออสเตรเลียมีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ในภูมิภาค เนื่องจากผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากชี้ว่า ในช่วงหลังปี 2020 ออสเตรเลียกำลังกล่าวสู่ช่วงเวลาแห่งความเสี่ยงในภูมิภาคอินโดแปซิฟิก ที่เกิดจากการรุกรานเพิ่มขึ้นของจีน ทั้งในทะเลจีนใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ
ย้อนความสัมพันธ์ 32 ปี “สมเด็จฮุน เซน – ทักษิณ” แนบแน่นแค่ไหน?
ผลบอลพรีเมียร์ลีก แมนฯซิตี้ ชนะ เบรนท์ฟอร์ด ฮาลันด์ ซัดประตูโทน
ธปท.เพิ่ม “วันหยุดธนาคาร” รับลูก ครม. สงกรานต์นี้หยุดยาว 12-16 เม.ย.67