ปัญหาที่เกิดขึ้นในธนาคารสหรัฐยังไม่ทันจบล่าสุดธ.เครดิตสวิส(Credit Suisse)เกิดปัญหาขึ้นอีกรายเรียกว่าล้มต่อเนื่องกลายเป็น“โดมิโน่“
ล่าสุด นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ และประธานกรรมการ สภาธุรกิจตลาดทุนไทย (เฟทโก้) เปิดเผยผ่านเฟซบุ๊ก “กอบศักดิ์ ภูตระกูล” ด้านผลกระทบของ ธนาคารเครดิตสวิส (Credit Suisse) ต่อภาคตลาดเงินตลาดทุนของไทย ในหัวข้อ “ให้ล้มไม่ได้ … ยอมจำนนเป็นรายที่ 2 !!!!”
หลังตลาดกดดันมาทั้งวันจนหุ้น Credit Suisse ทรุดลงไปมากกว่า 30% ใน 1 วัน!คำพูดจาก เว็บตรง!! สุดท้าย ธนาคารกลางสวิส (SNB) และผู้กำกับสถาบันการเงินสวิส (FINMA) ประกาศพร้อมช่วยเหลือ Credit Suisse ดังนี้
“FINMA is in very close contact with the bank and has access to all information relevant to supervisory law. Against this background, FINMA confirms that Credit Suisse meets the higher capital and liquidity requirements applicable to systemically important banks. In addition, the SNB will provide liquidity to the globally active bank if necessary. “คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
FINMA ได้ติดตามหารือกับ Credit Suisse อย่างใกล้ชิด และได้ดูข้อมูลของธนาคารในมิติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตามที่กฎหมายกำกับสถาบันการเงินได้กำหนดไว้ FINMA ขอยืนยันว่า ฐานะการเงินของ Credit Suisse ทั้งเงินทุนและสภาพคล่องยังเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด และหากจำเป็น ธนาคารกลางสวิสจะจัดสภาพคล่องที่ต้องการให้กับ Credit Suisse พูดง่าย ๆ ได้ดูข้อมูลแล้ว และขอให้สบายใจ หาก Credit Suisse มีปัญหา ธนาคารกลางสวิสจะจัดให้!!!
ที่ต้องทำเช่นนี้ก็เพราะว่า Credit Suisse เป็นธนาคารที่สำคัญกว่า Silicon Valley Bank มาก มีขนาดสินทรัพย์ประมาณ 6 แสนล้านดอลลาร์ เป็นธนาคารขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของสวิส มีอายุ 167 ปี ฝังรากลึก มีโครงข่ายเชื่อมโยงกับธนาคารต่าง ๆ ในยุโรป ในสหรัฐ อย่างลึกซึ้ง ใหญ่เกินไปที่จะปล่อยให้ล้ม
เพียงผลจากเมื่อคืนนี้ แค่ความกังวลใจ ก็ทำให้หุ้นธนาคารอื่น ๆ ในยุโรปก็ร่วงตามเป็นแถว ๆ
Societe Generale -12.2%
BNP Paribas -10.1%
ING -9.6%
BBVA -9.6%
กระจายไปทั้งภูมิภาค ตลาดหุ้นอังกฤษ สเปน อิตาลี ตกไปประมาณ 4% ใน 1 วัน กระทั่ง ธนาคารกลางอังกฤษ ก็ต้องจัดประชุมฉุกเฉินกับกลุ่มธนาคารกลางอื่น ๆ เพื่อหารือแนวทางที่จะดูแล
ทั้งนี้ แม้ Credit Suisse มีปัญหาเฉพาะในหลาย ๆ เรื่อง ต่างจากธนาคารอื่น ๆ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา ทั้งกรณีของสหรัฐและยุโรป ชี้ไปถึงความเปราะบางในระบบสถาบันการเงินโลกที่เพิ่มขึ้นมากจากการขึ้นดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วเกินคาด มา 1 ปีเต็ม ๆ ของธนาคารกลาง ทำให้สถาบันการเงินจำนวนมาก จัดการความเสี่ยงได้ไม่หมดมีความเสียหายซ่อนไว้ใน Port พันธบัตรที่ถือ จากการลงทุนที่ไปลงไว้
ยิ่งเมื่อเศรษฐกิจซบเซาลง จากหนี้เสียต่าง ๆ ก็จะอ่อนแอลงไปเพิ่ม ทำให้ทุกคนพร้อมวิ่ง เมื่อมีประเด็นเกิดขึ้นดังเช่นกรณี Credit Suisse เมื่อคืนนี้ เริ่มจากการสัมภาษณ์ธรรมดา ๆ ที่ Saudi National Bank ตอบว่า ได้ลงทุนไปที่ 9.9% ของหุ้น Credit Suisse แล้ว หากเกิน 10% ก็จะเข้าสู่เกณฑ์ใหม่ ด้วยเหตุนี้ เขาจึงไม่สามารถลงเงินเพิ่มได้
แต่ข่าวที่ออกมา พาดหัวว่า “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ Credit Suisse ปฏิเสธที่จะลงเงินต่อ ปฏิเสธที่จะช่วยเหลือเพิ่ม” เนื่องจาก Credit Suisse มีแผลอยู่แล้ว คนจับตามองอยู่แล้ว มีปัญหาเกิดขึ้นเนือง ๆ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
สิ่งที่ตามมาจากคำพูดสั้น ๆ ดังกล่าว จึงกลายเป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง เกินคาด สะเทือนไปทั่วโลก
แต่ท้ายสุด เนื่องจาก Credit Suisse ใหญ่เกินไป สำคัญเกินไป ให้ล้มไม่ได้!!! ทางการจึงต้องเข้ามาดูแล ไม่มีทางเลือก ซึ่งเมื่อคืน ถือเป็นก้าวแรก ประกาศช่วยเรื่องสภาพคล่องต่อไป หากจำเป็น คงต้องประกาศอุ้มผู้ฝากให้ชัดเจนและท้ายสุด หากจำเป็นจริง ๆ คงต้องคิดหาทางออก เพื่อหาทางให้ Credit Suisse กลับมามีเงินทุนที่เข้มแข็งอีกครั้งเพื่อให้ผ่านไปได้ แต่ล้มไม่ได้ ระหว่างทางโลกก็จะพลอยฟ้าพลอยฝนไปด้วย
อย่างไรก็ตาม กรณี Credit Suisse คงไม่ใช่กรณีสุดท้าย สถาบันการเงินต่าง ๆ คงก็จะต้องรับกับแรงกระแทก แรงกดดันที่เพิ่มขึ้นไปอีกระยะ เพราะธนาคารกลางหลักหลายประเทศ ยังสู้ศึกเงินเฟ้อไม่จบ
นำมาซึ่งบทใหม่ของ Perfect Storm ที่ลุกลามไปภาคสถาบันการเงินที่อ่อนไหว เปราะบางมากขึ้น ยิ่งข่าวสารสมัยนี้ไปไว ธุรกรรมทางการเงินก็แค่ปลายนิ้วจิ้ม ในการถอนเงิน โอนเงิน ขายหุ้น เก็งกำไร ความปั่นป่วนต่างๆ ก็สามารถเกิดขึ้นได้ง่าย กระเทือนเป็นลูกโซ่ เป็นทอด ๆ รวมถึงประเทศไทย
แต่ด้วยพื้นฐานของไทยเราที่ดีพอเราน่าจะผ่านไปได้🙂
**สำหรับเครดิตสวิส เป็นธนาคารระดับโลกที่ก่อตั้งตั้งแต่ปี 1856 มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองซูริก และมีสำนักงานอยู่ในศูนย์กลางการเงินทุกแห่งทั่วโลก ถือเป็นหนึ่งในธนาคารขนาดใหญ่ที่มีอิทธิพลต่อการเงินโลก โดยในช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมา เครดิต สวิส ประสบปัญหาขาดทุนต่อเนื่อง นับตั้งแต่ปี 2015 ต่อเนื่องมาปี 2016 สาเหตุมาจากการตัดหนี้สูญของสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ที่เป็นผลพวงมาจากวิกฤติซับไพรม์ (subprime) ปี 2008 และ วิกฤติหนี้ยุโรป ในปี2009
ขณะที่ไม่กี่ปีที่ผ่านมา ยังเกิดกรณีการล้มลายของกองทุนเฮดจ์ฟันด์ “อาร์คีกอส แคปิตอล” (Archegos Capital) ซึ่งเครดิต สวิส ได้ร่วมปล่อยกู้ให้กับกองทุนประกันความเสี่ยงรายนี้ไปลงทุน แต่กลับประสบปัญหาขาดทุนหนัก จนกระทบต่อผลประกอบการของธนาคารเอง